เมนู

พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร พระสาม
โพธิสัตว์นี้เป็นอิสินิมิต คือพระฤๅษีทั้งสองเสี่ยงให้เกิด แล้วเป็นทั้งเทพนิมิต คือพระอินทร์
นิมนต์ให้เกิด เป็นบุญนิมิต คือพร้อมด้วยบุญกุศล อนึ่งเล่า ดูรานะบิตรพระราชสมภาร
เทพบุตรที่พระอินทร์นิมนต์ให้เกิดนี้ มี 4 พระองค์ คือพระยากุสนราชองค์ 1 ท้าวมหาปนาท
องค์ 1 พระสุวรรณสามองค์ 1 พระเวสสันดรองค์ 1 บพิตรพระราชสมภารพึงทราบพระทัย
ด้วยประการดังนี้
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดี ได้ทรงฟังพระนาคเสนวิสัชนามาฉะนี้ ไม่มี
ความสงสัยก็ซ้องสาธุการว่า คัพภาวักกันติปัญหานี้ลึกล้ำคัมภีรภาพรกชัฏฟั่นเฝือเหลือที่
ธรรมกถึกจะแก้ไข ผิดจากพระผู้เป็นเจ้าไปแล้วเต็มทีอยู่ พระผู้เป็นเจ้ามาแก้ไขด้วยสันนิบาตให้
ประหลาดออกไป โยมเข้าใจแล้ว โยมจะกำหนดจดจำไว้ เพื่อกุลบุตรอันเกิดมาเป็นปัจฉิมา
ชนตาในอนาคตกาลข้างหน้านั้น
คัพภาวักกัติปัยหา คำรบ 6 จบเท่านี้

สัทธัมมอันตธานปัญหา ที่ 7


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ปรีชา โยมนี้คิดไปให้วิมัติสงสัยนักหนา ด้วยสมเด็จพระบรมนายกโลกนาถ มี
พระพุทธฎีกาตรัสไว้แก่พระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ พระสัทธรรมของตถาคต จะตั้งอยู่นาน
ประมาณกำหนดห้าพันปี พระพุทธองค์ตรัสเป็นคำขาด ครั้นมาเมื่อจะใกล้ดับขันธ์เข้าสู่พระ
มหาปรินิพพานนั้น สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้ามีพระพุทธฎีกาตรัสกับสุภัททะปริพพาชกว่า ดูกร
สุภัททะ แม้ว่าอันเป็นโอรสของตถาคตนี้ มีศรัทธาปรนนิบัติเป็นสัมมาปฏิบัติอยู่ได้ตราบใด
โลกจะได้สูญจากพระอรหันต์หามิได้ นี่แหละมีพระพุทธฎีกาตรัสไว้เป็นคำขาด เมื่อวันที่จะเสด็จ
เข้าสู่พระมหาปรินิพพาน ตกว่าพระพุทธฎีกาประทานไว้เป็นคำสองฉะนี้ โยมหารู้ที่จะกำหนด
คำไหนให้แน่ลงได้ไม่ ครั้นจะเชื่อเอาคำเดิมที่ตรัสว่า พระสัทธรรมของตถาคตจะตั้งอยู่กำ
หนดถ้วนห้าพันปีนั้นเล่า คำที่พระพุทธองค์เจ้าตรัสว่า ถ้าพระภิกษุความอุตสาหะปรนนิบัติ
เป็นสัมมาปฏิบัติอยู่ตราบใด โลกไม่เปล่าจากพระอรหันต์ก็จะผิด ครั้นจะเชื่อเอาคำภายหลังก็
จะผิดกันกับคำเดิมที่โปรดไว้ โยมคิดไปก็สงสัยนักหนา ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ มาถึงแก่พระ
ผู้เป็นเจ้าแล้ว พระผู้เป็นเจ้าจงโปรดวิสัชนาให้โยมสิ้นสงสัยในกาลบัดนี้

พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาวิสัชนาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ภควา
สมเด็จบรมโลกนาถศาสดาจารย์ มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า พระสัทธรรมจะตั้งมั่นอยู่ห้าพันพระ
วัสสา ครั้นมาเมื่อวันจะเข้าพระมหาปรินิพพานตรัสว่า พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอุตสาหะ
ปรนนิบัติเป็นสัมมาปฏิบัติอยู่ตราบใด โลกก็ไม่ขาดจาพระอรหันต์ นี่แหละพระพุทธฎีกาจะ
เป็นอรรถอันเดียวกัน มีเนื้อความเนื่องเป็นเรื่องเดียวกันหาบ่มิได้ นานาอตฺถํ มีอรรถเนื้อ
ความต่างกัน นานาพฺยญฺชนํ มีพยัญชนะต่างกัน อยํ สาสนปริจฺเฉโท ที่ว่าด้วยกำหนดพระ
ศาสนาจะตั้งมั่นไปได้ประมาณเท่านั้นก็มี อยํ ปฏิปตฺติปริทีปนา ที่ว่าด้วยสามารถปฏิบัติก็มี
พระพุทธฎีกาทั้งสองนี้เป็น ทูรวิวชฺชิตา เว้นว่างไกลกันนักหนา เปรียบปานดุจดินกับอากาศ
ดุจวิมานเมืองสวรรค์กับชั้นนรก ตกว่าไกลกว่าไกลต่อกัน ดุจสุขกับทุกข์อันต่างกัน และดุจบาป
กับบุญคุณกับโทษต่างกันนักหนา มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ซึ่งมีพระราชโองการ
ถามจะห้ามให้สูญไปก็ใช่ที่ เหตุฉะนี้อาตมาจะเปรียบเทียบให้เห็นแล้วจะแสดงให้แจ้งประจักษ์
ต่อไป ขอถวายพระพร สมเด็จพระบรมโลกุตตมาจารย์ เมื่อทรงกำหนดความเสื่อมสิ้นแห่งพระ
สัทธรรม พระองค์ตรัสกำหนดเขตไม่มีส่วนเหลือว่า อานนฺท ดูกรสำแดงอานนท์ ถ้าภิกขุนี
ไม่บวช พระสัทธรรมพึงตั้งอยู่ได้หลายพันปีนักหนา กาลนี้พระสัทธรรมจักตั้งอยู่ได้เพียงห้าพัน
ปีเท่านั้น พระตถาคตเจ้ามีพระพุทธฎีกาตรัสไว้ดังนี้ บพิตรพระราชสมภารจะเจ้าพระทัยอย่างไร
จะว่าพระผู้มีพระภาคตรัสถึงเวลาเสื่อมพระสัทธรรม หรือว่าทรงห้ามมอภิสมัยกายตรัสรู้มรรคผล
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์กษัตริย์ตรัสว่า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสห้ามปราม
การตรัสรู้มรรคผลหามิได้ พระองค์ทรงหมายถึงพระสัทธรรมจะเสื่อมไป
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร สมเด็จพระ
ผู้มีพระภาคเมื่อทรงแสดงพระศาสานาส่วนที่สิ้นไปและส่วนที่ยังเหลือ เสมือนบุรุษผู้มีทรัพย์สิน
หายไป แต่ยังมีส่วนเหลืออยู่จะบอกให้รู้ จึงจับทรัพย์ทั้งหลายที่เหลืออยู่เชิดชูให้เขาดู บอก
ให้รู้ว่าหายไปเท่านั้น ยังเหลือเท่านั้น ฉันใดก็ดี สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถศาสดาจารย์เจ้า
นฏฺฐํ สาสนํ ปริกิตฺตยนฺโต เมื่อจะทรงแสดงพระศาสนาอันจะสิ้นไปจะเหลืออยู่ต่อไป ให้แจ้งแก่
เทพามนุษย์ทั้งหลาย จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า อานนฺท ดูกรสำแดงอานนท์ พระสัทธรรม จะ
ตั้งมั่นอยู่ถ้วนห้าพันพระวัสสา แล้วมีพระพุทธฎีกาตรัสเมื่อพระองค์เจ้าจะเข้าสู่พระมหา
ปรินิพพานแก่สุภัททะปริพพาชกอีกว่า ดูกรสุภัททะ ถ้าบุคคลตั้งใจปฏิบัติเป็นสัมมาปฏิบัติ คือ
อุตสาหะเจริญเมตตาภาวนาอยู่ตราบใดแล้ว พระอรหันต์ก็ไม่ขาดจากโลกตราบนั้น พระพุทธ-
ฎีกาทั้ง 2 นี้ต่างกัน ไม่เหมือนกัน ที่พระพุทธฎีกาตรัสว่าพระสัทธรรมจะตั้งมั่นไปถ้วนห้าพัน
พระวัสสานั้น ด้วยจะกำหนดจะให้รู้ว่าพระไตรปิฎกจะตั้งมั่นไปด้วยห้าพ้นพระวัสสา เป็น

ศาสนาปริจเฉทอันหนึ่ง และพระพุทธฎีกาตรัสว่า พระโยคาวจรบุคคลทั้งปวงยังอุตาสาหะ
ปรนนิบัติเป็นสัมมาปฏิบัติ คือจำเริญภาวนาเป็นบุพภาคเจ้ามูลที่จะให้ได้พระนวโลกกุตรธรรม
ตราบใด พระอรหันต์ก็ไม่ขาดจากโลกตราบนั้น สมเด็จพระสัพพพัญญูเจ้าตรัสโดยปฏิบัติปริจเฉท
กำหนดใดข้างปรนนิบัติวิปัสสนาธุระ เป็นศาสนปริจเฉทอย่างหนึ่ง นี่แหละบพิตรพระราชสมภาร
เก็บเอาพระพุทธฎีกา กำหนดกฎหมายสองสถานนี้ มากระทำเคลือบคลุมให้เป็นสถานเดียวรส
อันเดียวกันฉะนี้ ผิแลว่ามีพระทัยจะถามเนื้อความให้เคลือบคลุมเป็นอันเดียวเช่นนี้ อาตมาจะชี้
ออกให้แจ้ง อวิจลมานโส บพิตรพระราชสมภาคเจ้าอย่าเบื่อหน่าย อาตมาจะวิสัชนาถวาย
โดยปริยายให้บพิตรทรงสดับต่อไปอีก มหาราช ขอถวายพระพร เปรียบปานประดุจดังสระใหญ่
อันหนึ่งลึกสุขุม ภาคพื้นราบ มีตาน้ำไหลมาได้ น้ำก็ละเอียดใสสระสะอาจ จะรู้ขาดสระนั้นหามิได้
ใช่แต่เท่านั้น มหาเมฆบันดาลปวัตนาการตกลงมา อปราปรํ หลายครั้งหลายครา
ธาราน้ำฝนก็ไม่ขาดสาย ตกว่ากระแสสินธุ์ที่สระนั้นจะแห้งหายไป สระใหญ่จะขาดจากอุทกัง
เหมือนหน้าฤดูคิมหันต์หรือประการใด
ราชา สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสว่า สระนั้นจะได้เปล่าจากอุทกังหามิได้
เหตุว่าสายฝนบันดาลไม่ขาดธารา
พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช รานะบพิตรผู้ประเสริฐ จะเปรียบอุปมาฉันใด
สทฺธมฺมตฬากํ อันว่าสระใหญ่คือพระสัทธรรม ชินสาสนํ เป็นคำสั่งสอนของสมเด็จมุนีวร
พิชิตมาร อันบริบูรณ์ด้วยน้ำใหม่ไหลอยู่สำราญ คืออาจารวัตรปฏิบัติอันไพบูลย์ ที่มีพระพุทธ-
ฎีกาตรัสบัณฑูรทรงอนุกูลโปรดประทานไว้ มหาราช ของถวายพระพร เมื่อพระพุทธชิโนรสใน
พระบวรพุทธศาสนาและสามเณรอุบาสกอุบาสิกา มีอุตสาหะปรนนิบัติรักษาจตุปาริสุทธิศีล
ให้บริบูรณ์ จำเริญคันถธุระวิปัสสนาธุระเนือง ๆ เล่าเรียนต่อไป และบำเพ็ญทานน้อยใหญ่ ตั้ง
อยู่ในศีลห้าเป็นนิตย์ สถิตในศีลแปดเป็นอุโบสถศีลเป็นอติเรก เร่งสดับฟังพระสัทธรรมเทศนา
ไป ผูกใจที่จะรำพึงถึงพระ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ไม่ประมาทที่จะกฤษดาภินิหาร มีอุตาสาหะไปทุก
ตัวคน อุปไมยเหมือนห่าฝาห่าน้อยห่าใหญ่ ตกลงในสระอันกล่าวคือพระสัทธรรมคำสั่งสอน
ของพระชินสีห์ เหตุฉะนี้ ชินสาสนํ คำสั่งสอนพระชินสีห์ก็จะฐิติการตั้งมั่นไปช้านานเป็น
ินิรันดร ก็จะสำเร็จพระอรหันต์เนือง ๆ ติดกันไป โลโก อสุญฺโญ ภเวยฺย โลกก็จะไม่เสื่อมสูญไป
เร็วพลัน อรหนฺเตหิ จากพระอรหันต์ทั้งหลาย อิมํ อตฺถํ สนฺธาย นี่แหละสมเด็จพระ
ชิเนนทรทรงพระดำริเห็นความฉะนี้ ภาสิตํ จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ดูกรสุภัททะ ภิกษุพุทธ-
ชิโนรสของตถาคตนี้ แม้มีอุตสาหะปรนนิบัติเป็นสัมมาปรนนิบัติได้ วิเหรยฺยุํ แน่นอนอยู่ใน
ปฏิบัติตราบใด พระอรหันต์จะได้ขาดจากโลกหามิได้

อนึ่ง จะถวายอุปมา บพิตรพึงตั้งพระทัยสวนาการอีก มหาอคฺคิกฺขนฺโธ กองเพลิง
ใหญ่ ปชฺชลมาโน รุ่งเรืองไปด้วยเปลวอันมาก มิหนำซ้ำบุคคลทิ้งลงซึ่งใบไม้และโคนไม้แห้ง
หลายครั้งหลายครา มหาราช ขอถวายพระพร เพลิงใหญ่นั้นจะรุ่งโรจน์โชตนาการ หรือว่าจะ
อันตรธานไปเล่า
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า น หิ ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า
เพลิงนั้นรุ่งเรืองกว่าเก่า ที่จะดับอับรัศมีหามิได้
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า ความนี้มีอุปมาฉันใด ชินสาสนํ ศาสนาของพระพิชิต-
มารมิ่งมงกุฎโลกเลิศ วรํ อันประเสริฐโสด ชลติ จะรุ่งเรืองไพโรจน์ ปภาเสติ โชตนาการ
ไปไม่ขาด ทสสหสฺสมฺหิ โลกธาตุยา ในหมื่นโลกธาตุ ด้วยมารยาทและศีลคุณวัตรปฏิบัติ
ต่าง ๆ นานา มหาราช ดูกรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ พุทฺธปุตฺตา อนึ่งถ้าพระ
พุทธบุตรทั้งหลายปรนนิบัติให้เลิศยิ่งมีความอุตสาหะศรัทธา ปญฺจหงฺเคหิ สมนฺานคตา
ประกอบด้วยองค์ 5 สุทนฺตา ทรมานอินทรีย์เป็นอันดีมิได้ประมาท มีฉันทชาติเกิดรักใคร่ใน
ไตรสิกขา อุตสาหะพากเพียรพยายามเล่าเรียนไป ตั้งใจอยู่ในธรรมสุจริตอันดี ยังประเพณีและ
ศีลคุณให้บริบูรณ์ไปไม่ประมาท อิทํ สตฺถุสาสนํ อันว่าสุตถุศาสนานี้ ก็จะมีฐิติการตั้งมั่นอยู่
นานไป อสุญฺโญ โลโก โลกจะได้สูญจากพระอรหันต์หามิได้ มหาร ของถวายพระพร
กระจกส่องอันผ่องใส บุคคลขัดสีให้ดีด้วยจุณไม้อันละเอียด ขัดสีนั้นเนือง ๆ ไป จะผ่องใส่
ไพโรจน์ หรือว่าจะมีมลทินโทษเป็นประการใด นะบพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภุมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้ประกอบด้วยปรีชาญาณ แต่พื้นกระจกยังผ่องใส ซ้ำขัดสีอีกเล่าก็จะผ่องไพโรจน์หา
โทษมิได้
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า ฉันใดก็ดี ชินสาสนํ ศาสนาของพระชิสีห์สัมมาสัม
พุทธเจ้าปราศจากราคกิเลสตัณหา เหตุว่าประจักษ์ด้วยพระอริยมรรคแล้ว มิหนำซ้ำพระพุทธ-
บุตรปรนนิบัติให้รุ่งเรืองด้วยอาจารคุณและธุดงคุณและสัลเลขคุณ เร่งบอกกล่าวเล่าเรียน
พากเพียร ก็จะภิยโยภาวะยิ่งขึ้นไปได้ร้อยเท่าพันทวี เหตุฉะนี้ศาสนาของสมเด็จพระพุทธเจ้า
ก็นับแต่จะรุ่งเรืองไป อสุญฺโญ โลโก โลกจะได้สูญไปจากพระอรหันต์หามิได้เป็นอันขาด อนึ่ง
ศาสนาของสมเด็จพระบรมโลกกุตตรมาจารย์เจ้านี้ ปฏิปตฺติมูลํ มีปฏิบัติเป็นรากเหง้าเค้ามูล
ถ้าปฏิบัติบริบูรณ์ไปตราบใด ศาสนาของพระบรมไตรโลกนาถศาสดาจารย์ ก็จะฐิติการตั้งมั่นไป
ตราบนั้น ขอถวายพระพร

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีสุนทรพจนารถพระราชโองการถามว่า ภนฺเต
นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชาญาณ พระผู้เป็นเจ้ากล่าวว่าพระสัทธรรมจะอันตรธานนั้น
อย่างไร
พระนาคเสนจึงแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐ อันตรธานมี 3 ประการ คือ
อธิคมอันตรประการ 1 ปฏิบัติอันตรธานประการ 1 ลิงคอันตรธานประการ 1 เป็น 3
ประการดังนี้ มหาราช ขอถวายพระพร อธิคมอันตรธานนั้น เมื่อพระพุทธบุตรไม่ปฏิบัติ
แล้วก็ขาดจากมรรคผลง อย่างนี้ ชื่อว่าอธิคมอันตรธาน และปฏิบัติอันตรธานนั้น เมื่อพระ
อันตรธาน และลิงคอันตรธานนั้น ได้แก่ประเพณีนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ กำหนดจนผ้ากา-
สาน้อยห้อยหูมีอยู่ยังไม่สูญจากประเพณี ต่อเมื่อไม่มีตราบใด ประเพณีก็สูญเสื่อมเมื่อนั้น
เรียกว่า ลิงคอันตรธาน จงทรงทราบพระญาณเถิด ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี ได้ทรงฟังก็มีพระทัยสิ้นวิมัติกังขา จึงมีพระราช-
โองการตรัส ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา อยํ ปญฺโห อันว่าปัญหานี้ คมฺภีโร
ลึกนักหนา อุตฺตานีกโต พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาให้ตื้นขึ้นได้ ตั้งแต่นี้ไปพวกเดียรถีย์จะปรับ
ปวาทสอดเข้ามาว่าให้ฟั่นเฟืองอย่างไรไม่ได้แล้ว นับแต่ว่าจะลี้ลับอัปรภาคย์ไป พระผู้เป็นเจ้านี้
ประเสริฐกว่าหมู่กว่าคณะทั้งปวง หาใครจะเลิศจะล่วงก้ำเกินกว่าพระผู้เป็นเจ้าไม่มี ในกาลบัดนี้
ลัมธัมมอันตรธานปัญหา คำรบ 7 จบเท่านี้

สัพพัญญุตังปัตตปัญหา ที่ 8


ราช อาห

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาค-
เสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ตถาคโต สมเด็จพระตถาคตทศพลเจ้า สพฺพํ อกุสลํ ฌาป-
ยิตฺวา
เผาเสียซึ่งอกุศลทั้งปวงเสร็จสิ้นทีเดียวเจียวหรือ จึงสำเร็จแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ
อุทาหุ หรือว่าสมเด็จพระศาสดาจารย์เจ้า เผาอกุศลไม่หมดมีเศษอยู่ สมเด็จพระบรมครูจึง
สำเร็จแก่พระสรรเพชญดาญาณประการใด
พระนาคเสนวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพร สมเด็จพระบรมโลกุตตมา-